HOT TOPIC

พระงั่งตาโปนเนื้อทองผสมหลังยันต์ พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน (องค์นี้พิเศษ-ฐานตัน)

By MODERN MAJIK

July 01, 2021

ยันต์ด้านหลังครับ [พระงั่งเนื้อทองผสมหลังยันต์ พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน]

มุมมองที่แตกต่างย่อมเห็นอะไรที่แตกต่าง [พระงั่งเนื้อทองผสมหลังยันต์ พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน]

คราบเขียวตรงหน้าตักเกิดจากความชื้นครับ ผิวสีน้ำตาลนั้นเกิดจากการเปลี่ยนสีของโลหะเมื่อผ่านเวลานาน (ปรากฏการออกซิเดชั่น) ส่วนที่เป็นสีทองเกิดจากการสึกจากการใช้งานจนเห็นเนื้อพระครับ [พระงั่งเนื้อทองผสมหลังยันต์ พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน]

ผมชอบรูปมุมมนี้ครับ ทำให้รู้สึกว่าพระงั่งนั้นดูแปลกตา [พระงั่งเนื้อทองผสมหลังยันต์ พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน]

องค์นี้ผิว 2 สีทั้งองค์ครับ [พระงั่งเนื้อทองผสมหลังยันต์ พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน]

องค์นี้ผิว 2 สีทั้งองค์ครับ [พระงั่งเนื้อทองผสมหลังยันต์ พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน]

องค์นี้ผิว 2 สีทั้งองค์ครับ ฐานด้านล่างเป็นรอยบิ่น [พระงั่งเนื้อทองผสมหลังยันต์ พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน]

สภาพผิวเป็นรูแบบนี้เป็นทั่วทั้งองค์ครับ [พระงั่งเนื้อทองผสมหลังยันต์ พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน]

รูปนี้ให้ดูผิวและสีของพระงั่งนะครับว่าถึงแม้จะเป็นพิมพ์เดียวกันก็จะมีสีผิวที่ต่างกัน สาเหตุก็เพราะแต่ละองค์นั้นได้ถูกใช้งานในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ความสึกเนียนและสีผิวจึงต่างกันครับ [พระงั่งเนื้อทองผสมหลังยันต์ พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน]

ยันต์ด้านหลัง เอกลักษณ์ของพระงั่งอุดกริ่งพิมพ์นี้เลยครับ ซึ่งยุคหลังๆพระงั่งทั้งตาโปนและตาแดงก็ใช้ยันต์แบบนี้เช่นกันครับ [พระงั่งเนื้อทองผสมหลังยันต์ พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน]

มุมนี้คือภาพหลักของบทความนี้ครับ ซูมให้เห็นรองรอยต่างๆบนหน้าพระงั่ง ได้อารมณ์มากครับ [พระงั่งเนื้อทองผสมหลังยันต์ พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน]

ต้องบอกก่อนครับว่าพระงั่งพิมพ์นี้เป็นพิมพ์หน้านิ่ง ไม่ยิ้มเมือนพระงั่งบางพิมพ์ ดังนั้นอาจจะดูแล้วไม่สวยซึ่งติดตาแต่สำหรับผมนั้นสวยลึกลงไปถึงหัวใจเลยครับ [พระงั่งเนื้อทองผสมหลังยันต์ พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน]

บริเวณหน้าอกและหน้าตักพระงั่งครับ [พระงั่งเนื้อทองผสมหลังยันต์ พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน]

บริเวณฐานด้านหน้าครับ [พระงั่งเนื้อทองผสมหลังยันต์ พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน]

บริเวณใต้ฐานครับ [พระงั่งเนื้อทองผสมหลังยันต์ พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน]

ภาพไม่ค่อยชัดครับเนื่องจากผมจับกล้องมือถือประกบกับกล้องส่องพระด้วยมือซ้าย แล้วถือพระด้วยมือขวา เวลาถ่ายรูปมือสั่นเกือบทุกรูปครับ 555 [พระงั่งเนื้อทองผสมหลังยันต์ พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน]

เสน่ห์ของพระงั่งพิมพ์นี้คือยันต์ด้านหลังครับเป็นยันต์ตัว “ฤ” (อ่านว่า – รึ) ซึ่งเป็นยันต์ทางด้านเสน่ห์เมตตาครับ [พระงั่งเนื้อทองผสมหลังยันต์ พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน]

ยันต์ตัว “ฤ” (อ่านว่า – รึ) เขียนแบบตวัดหางขึ้นด้านบนครับ [พระงั่งเนื้อทองผสมหลังยันต์ พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน]

แหม่…ผิวพรรณและสีสันแบบนี้ทำหัวใจละลายเลยครับ [พระงั่งเนื้อทองผสมหลังยันต์ พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน]

รายบิ่นที่ฐาน [พระงั่งเนื้อทองผสมหลังยันต์ พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน]

ปากแบบนี้เวลาเห็นแล้วผมนึกถึงปากปลาฉลามครับ เป็นขีดโค้งเหมือนกัน เรียบๆแต่มีความสวยงามสไตล์ Minimal จริงๆครับ [พระงั่งเนื้อทองผสมหลังยันต์ พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน]

พระงั่งตาโปนเนื้อทองผสมหลังยันต์ พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน ปกติพิมพ์นี้จะเป็นอุดกริ่งครับ องค์นี้พิเศษตรงที่ฐานตันไม่ได้อุดกริ่ง ซึ่งหายากพอสมควรครับเนื่องจากที่ผ่านมือผมมาทั้งหมดนั้นองค์นี้เป็นองค์แรกที่เป็นแบบแบบฐานตัน ดังนั้นหากคนที่คิดว่าพระงั่งพิมพ์ต่างๆนั้นจะต้องเป็นแบบที่ตัวเองเคยเห็นหรือเคยสัมผัสอาจจะต้องเปลี่ยนความคิดครับ เนื่องจากพระงั่งบางพิมพ์นั้นมีจำนวนน้อย บางพิมพ์อาจจะเคยเห็นแค่ไม่กี่ครั้งหรืออาจจะมีหมุนเวียนอยู่ในระบบไม่มาก บางท่านเพิ่งศึกษาและสะสมพระงั่งมาไม่นานก็อาจจะไม่เคยเห็นพระงั่งบางพิพม์ครับ ประสบการณ์และระยะเวลาในการเก็บสะสมอาจจะช่วยตรงนี้ได้ครับ

ส่วนสาเหตุที่องค์นี้ไม่ได้อุดกริ่งจริงๆนั้นคงบอกไม่ได้ว่าคืออะไร อาจจะเกิดจากความรีบร้อน ลืม เม็ดกริ่งหมด อยากเก็บไว้เป็นองค์พิเศษ หรือระหว่างที่กำลังจะเจาะอุดกริ่งเมียดันมาเรียกไปซื้อของ 555 ซึ่งเป็นไปได้ทุกกรณีครับ ที่บอกเช่นนี้เพราะว่าผมเป็นผู้สร้างพระงั่งและใกล้ชิดกับกระบวนการสร้างทุกขั้นตอนทำให้ทราบว่ามีปัญหาและอุปสรรคใดๆบ้างในขั้นตอนและกระบวนการสร้างพระ หากจะพูดถึงพระงั่งตาโปนเนื้อทองผสมหลังยันต์ พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อเงินวัดบางคลานองค์นี้ อยากให้ดูรายละเอียดต่างๆครับว่าลักณะผิว และธรรมชาติของโลหะเป็นอย่างไร มรรูปนึงที่ผมถ่ายรูปพระงั่งพิมพ์นี้รวมกันหลายๆองค์ เพื่อเทียบให้เห็นครับว่าพระงั่งพิมพ์เดียวกันนั้น หากแยกย้ายกันไปคนละสถานที่ถูกใช้งานแตกต่างกัน สีสันและผิวพรรณต่างๆนั้นย่อมไม่เหมือนกัน หากทท่านพบพระงั่งพิมพ์เดียวกันจากหลายๆแหล่งหือจากแหล่งเดียวกันมีหลายๆองค์เนื้อและสีผิวเหมือนกัน อันน้น่ากลัวครับ 555 (เป็นไปได้ไงฟระ จะเหมือนกันซะทุกองค์) แต่ไม่ต้องห่วงครับเดี๋ยวคนทำพระปลอมเค้านั่งแต่งทีละองค์แล้วครับ ทำยังไงก็ได้ให้ดูแล้วแตกต่างกัน คนเช่าจะได้เคลิ้มนึกว่าของเก่า ปัจจุบันพิมพ์นี้ผมเห็นแล้วครับว่ามีของทำใหม่ออกมาซึ่งลองพิจารณาดูดีๆครับ

กลับมาพูดถึงพระองค์นี้กันต่อครับ ด้วยความที่เป็นพระงั่ง (เครื่องราง) ยุคเก่าความปราณีตในการทำจึงไม่เนี๊ยบเหมือนในปัจจุบัน พิมพ์ออกเบลอๆ ตะไบก็ให้เห็นรอยหยาบๆกันไปเลย ไม่แคร์เรื่องความสวยงามครับซึ่งตรงจุดนี้ทำให้กลายเป็นเอกลักษณ์ของพระงั่งพิมพ์นี้ไปโดยปริยายครับ ประกอบกับเทคโนโลยีต่างๆในสมัยก่อนนั้นไม่สามารถควบคุมการผลิตให้ออกมาได้มีมาตรฐานได้เหมือนสมัยนี้ ยกตัวอย่างเรื่องเนื้อพระครับ ปัจจุบันที่ผมสร้าง iPher/ePher หรือ งั่งดี รวมถึงแม่ครูมนต์เสน่ห์เมืองมอญ ผมสามารถสร้างจำนวนเยอะๆให้ออกมาเหมือนกันได้เกือบ 100% ทั้งเนื้อและสีผิวของพระเนื่องจากการหลอมโลหะในปัจจุบันนั้นได้นำคามรู้ทางด้านโลหวิทยามาใช้ อีกทั้งโลหะที่เป็นวัตุดิบพื้นฐานในการหล่อพระนั้นมีคุณภาพมากขึ้น ส่วนมวลสารที่ผสมไปเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลนั้นเราใส่ในปริมาณที่พอเหมาะซึ่งทำให้ควบคุมคุณภาพได้ เททองหล่อออกมาแล้วพระไม่เสีย ไม่ต้องลุ้นว่าพระจะใช้ได้หรือไม่ (ปัจจุบันที่พบว่าพระเสียจากการหล่อนั้น ที่ผมเคยเจอจะเป็นเรื่องของความเสียหายจากแบบที่เป็นหุ่นขี้ผึ้งครับ ไม่ใช่จากเนื้อโลหะ ความเสียหายจากเนื้อโลหะนั้นน้อยมากเพราะในส่วนนี้โรงหล่อจะบอกตั้งแต่แรกแล้วว่าโลหะแบบไหนใช้หล่อพระแบบไหนได้หรือไม่ได้) แตกต่างจากในสมัยก่อนที่ช่างหล่อพระต้องติดเตาใช้ฟืน ควบคุมความร้อนก็ทำได้ยากต้องใช้ประมาณเอาจากประสบการณ์ วัตถุดิบที่เป็นพื้นฐานในการหล่อหลอมพระก็เป็นโลหะที่มาจากของเก่าบวกกับของที่ชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาเอามาร่วมหล่อพระซึ่งควบคุมได้ยาก หากเป็นการหล่อพระองค์ใหญ่นั้นก็ไม่มีปัญหาเพราะมวลสารเพิ่มเติมนั้นเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับโลหะทั้งหมดที่ใช้ในการหล่อ แต่หากเป็นการหล่อสร้างพระจำนวนน้อยๆหลักร้อยองค์ มวลสารเพิ่มเติมที่ใส่เข้าไปนั้นถือเป็นองค์ประกอบสำคัญเลยครับเพราะใส่เยอะไปเนื้อพระก็อาจจะเสียได้ ยกเว้นกรณีที่กำหนดชัดเจนว่ามวลสารที่จะนำเข้าร่วมการหล่อนั้น ต้องการโลหะชนิดไหนเกรดโลหะนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งในความเป็นจริงนั้นคงทำได้ยากครับ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมพระงั่งที่ผมเอารูปมาโชว์นั้นในแต่ละองค์ทำไมถึงผิวและเนื้อไม่เหมือนกัน 100% ถึงแม้จะเป็นพิมพ์เดียวกัน องค์นี้พิเศษตรงที่ไม่อุดกริ่ง แต่ผมขอบอกไว้ก่อนเลยครับว่าพระงั่งตาโปนเนื้อทองผสมหลังยันต์ พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อเงินวัดบางคลานพิมพ์นี้นั้นเป็นพระงั่งที่เม็ดกริ่งนั้นแม่เหล็กดูดไม่ติดครับ (ของผมทดสอบแล้วทุกองค์) ส่วนเม็ดกริ่งด้านในจะเป็นอะไรนั้นไม่ทราบจริงๆครับ เพราะยังไม่เคยเจอแป้นกริ่งหลุดแล้วก็ยังไม่กล้าที่จะผ่าออกมาดูครับ (กลัวเสียของ) ส่วนเหตุผลที่ว่าทำไมถึงเป็นพระงั่งอุดกริ่งหลวงพ่อเงินวัดวัดบางคลานนั้น ลองอ่านบทวามนี้ดูครับ พระงั่งหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน

สำหรับวันนี้ลาไปก่อนครับ ติดตามบทความใหม่ๆของ MODERN MAJIK ได้ครับ สัญญาว่าจะพยายามเขียนแชร์ข้อมูลเรื่อยๆครับ…บรัย1 ก.ค. 64