“งั่งหรือพระชัย”
เป็นบทความที่เขียนขึ้นโดย คุณ ดนัย เยาหะรี
” พระ” นะ …ไม่ใช่ ” งั่ง ” ผมขอจับเข่าทำความเข้าใจตรงนี้เสียเลยว่า สิ่งที่ผมหยิบยกนำมากล่าวถึงในครั้งนี้ คือ ” พระ” มิใช่ ” งั่ง ” อย่างที่ใครบางคน หรือหลายคนมีความเชื่อเช่นนั้น พระพุทธรูปนี้ตามตำราแบ่งยุคการสร้างไว้ ๑๓ ยุค สำหรับคนไทยในปัจจุบันนิยมสะสมพระพุทธรูป ซึ่งอันมีนามเป็นมงคลอยู่ ๓ ยุคคือ ๑….เชียงแสน ๒…สุโขทัย ๓…อู่ทอง “พระพุทธรูปยุคเชียงแสน” เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นประมาณ ศตวรรษที่ ๑๗ – ๒๐ และพบมากที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย จึงถูกขนานนามว่า พระพุทธรูปเชียงแสน ตามแห่งหนตำบลที่พบ พระพุทธรูปเชียงแสนแบ่งออกเป็น สามยุค คือ ยุคแรกมีลักษณะคล้ายกับพระพุทธรูปสมัยปาละของอินเดียมาก เช่นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิเพชร องค์อ้วนล่ำ สังหาฎิสั้น ไม่ถึงพระถัน พระพักต์กลม พระนาสิกงุ้มบ้าง เล็กบ้าง พระโอษฐ์เล็ก ฐานมีบัวหงาย มองเห็นคล้ายมีเกสรแซม คนทั่วไปเรียกพระรุ่นนี้ว่า ” เชียงแสนสิงห์หนึ่ง” ส่วนพระเชียงแสนในยุคหลังจะแตกต่างกับยุคแรก ตรงรูปทรงไม่อ้วนนัก พระนั่งขัดสมาธิราบ พระศกละเอียด พระเกศเป็นเปลวคล้ายแบบ สุโขทัย มีสังฆาฎิ ความยาว ๒ ระดับ คือ คือถ้าต่ำกว่าพระถันเล็กน้อย เรียกว่า ” เชียงแสนสิงห์สอง” และถ้าสังฆาฎิต่ำกว่าพระถันมากเรียกว่า ” เชียงแสนสิงห์สาม” ” พระพุทธรุปยุคสุโขทัย” มีอายุการสร้างอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๘- ๑๙ พระพุทธรูปยุคนี้ถือว่าเป็นศิลปของไทยแท้ และเป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดกว่าทุกยุคทุกสมัย อีกทั้งนามของยุคเป็นมงคลนามด้วย จึงมีผู้นิยมยกย่องพระพุทธรูปแบบสุโขทัยจำนวนมาก ” พระพุทธรูปยุคอยู่ทอง” เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๒๐ ดินแดนอันเป็นต้นกำเหนิดของศิลปแบบอู่ทอง อยู่ตอนกลางของประเทศ ซึ่งเคยเป็นอณาจักรทวารวดี และเคยอยู่ในอำนาจของขอมมาก่อน ศิลปแบบอู่ทองจึงได้รับอิทธิพลจากที่ต่างๆมาผสมกัน แต่พระบูชายุคอู่ทองซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมทั่วไปแบ่งออกเป็น ๒ ยุค คือ ๑..อู่ทองหน้าหนุ่ม ๒..อู่ทองหน้าแก่ เรื่องนี้ผู้เชี่ยวชาญในด้านพระบูชาเคยแสดงทัศนะให้ฟังว่า การสร้างพระพุทธรูปบูชาในยุคต่างๆนั้น เหตุการณ์แวดล้อมในขณะนั้น มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยอย่างมาก เช่นยุคใดสมัยใดบ้านเมืองมีความสมบูรณ์พูนสุข และพระพุทธรูปก็จะพลอยงดงาม มีแววแห่งความสมบูรณ์ให้เห็นชัดเจน สำหรับพระพุทธรูปซึ่งผมได้รับมรดกตกทอดมาจากญาติทางพระนครศรีอยุธยา เป็นพระพุทธรูปบูชาขนาดเล็ก หน้าตักกว้างสองนิ้ว ที่ส่วนเศียรสวมมงกุฎ นุ่งห่มจีวรแบบคลุม ไม่มีสังฆาฎิ คนของศิลปกรเรียกพระพิมพ์นี้ว่า พระชัย แต่มีคนอีกหลายคนเข้าใจผิดเรียกว่า พระงั่ง และชอบพกพระพุทธรูปองค์น้อยนี้ ในกระเป๋ากางเกงบ้าง วางไว้ในที่ไม่อันควรบ้าง ทำให้ผมต้องพยายามศึกษาค้นคว้า หาข้อเท็จจริงมาประดับตัวเอง และไว้อธิบายแก่คนอื่น ซึ่ง หาข้อมูลได้จากคุณ วีระพล จ้อยทองมูล แห่ง หนังสือพิมพ์ข่าวสด ได้มาว่า คำว่า “งั่ง” มีมาจากหลายข้อมุลคือ ” งั่ง ” เป็นโลหะชนิดหนึ่ง สีและเนื้อเหมือนตะกั่ว แต่แข็งกว่า ” งั่ง ” เป็นพระพุทธรูปที่ยังไม่ได้ทำพิธีเบิกเนตร เป็นรูปหล่อโลหะเหมือนพระพุทธรูป แต่ไม่มีผ้าพาด ” งั่ง ” ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้ใน ” สานส์สมเด็จ” เป็นทำซึ่งทางปักษ์ใต้เรียกว่า ” ฮั่ง ” แปลว่าทองแดง เช่นเดียวกับคำอธิบายของ คุณโชติ กัลยาณมิตร ในหนังสือพจนานุกรมสถาปัตยกรรม ว่า ” งั่ง ” แปลว่าทองแดง เป็นคำเดียวกับ ” ฮั่ง ” ในภาษาถิ่นเหนือ “พระงั่ง” หรือแหวน “งั่ง” จึงหมายถึงพระพุทธรูป หรือ แหวนที่ทำจากทองแดงนั่นเอง
ส่วนคนไทยในสมัยก่อนให้ความหมายของคำว่า ” งั่ง” ไว้ว่า ” งั่ง ” เป็นทั้งเครื่องราง และอาวุธที่มีขนาดพอจุมือ เวลาใช้ กำงั่งให้ปลายแหลม โผล่ออกมาสำหรับแทงศัตรู แม้ศัตรุจะมีความอยู่ยงคงกระพัน ต่ออาวุธทั้งปวง ก็ต้องมีอันต้องหลั่งเลือดให้กับ “งั่ง” เพราะ ” งั่ง” เป็นของที่ผ่านการปลุกเสก ถอนอาถรรพ์ศัตรูไว้แล้ว สำหรับพระพุทธรูปองค์น้อยนี้ คุณวีระพล แก้วทองมูล ได้กรุณาไขความกระจ่าง ว่า….สมัยก่อน เมื่อทหารกรุงศรีอยุธยาจะไปทำสงครามกับอริราชศัตรู ทางราชการ รวมกับญาติพี่น้องของทหาร จะร่วมกันสร้างพระพุทธรูปขึ้นจำนวนมาก เป็นพระบูชาองค์เล็ก ขนาดพกติดตัวได้ แล้วแจกให้ทหารคนละสององค์ เพื่อพกติดตัวก่อนออกเดินทัพ จากนั้นทหารก็จะนำพระพุทธรุปองค์หนึ่ง ไปตั้งบูชาไว้ข้างโบสถ์ วิหาร หรือฐานเจดีย์ ในบริเวณวัด พระองค์แรกนี้เรียกว่า ” พระฤกษ์” คือบูชาก่อนเพื่อเอาฤกษ์ ส่วนอีกองค์หนึง นำติดตัวไปเข้าสนามรบด้วย ครั้นเมื่อเสร็จศึกสงครามกลับมาถึงบ้านถึงเมือง แล้ว ก็นำองค์พระที่นำติดตัวไปด้วย นำไปบูชาคู่กับพระฤกษ์ เรียกพระพุทธรูปองค์ที่สองนี้ว่า ” พระชัย ” ถือเป็นมงคลแห่งชัยชนะ ทหารกล้าชาวกรุงเก่าที่เดินทางไปรบทัพจับศึก แต่ละครั้งมีจำนวนมาก พระฤกษ์ และ พระชัย ย่อมต้องวางเกลื่อนอยู่ภายในบริเวณวัดมากมาย จึงเป็นถาระของวัดที่ต้องหาที่เก็บรักษาหรือบรรจุให้เรียบร้อย สะอาดตา ซึ่งส่วนมากจะบรรจุไว้ในเจดีย์ ดังนั้นจึงมีการขุดพบพระฤกษ์ และ พระชัย จำนวนมาก มายหลายวัด โดยเฉพาะวัดที่อยู่นอกตัวเมืองทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก เป็นต้น ชาวเชียงแสน ในสมัยศตวรรษที่ ๑๗ – ๒๐ มีความเลื่อมใสศัทธาในพระศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ผู้ใดมีบุตรสาวหนึ่งคน ต้องสร้างพระพุทธรูปบูชาขึ้นแทนการบวช พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นแทนการบวชนี้ จะมีขนาดและเนื้อวัตถุ อย่างไร ขึ้นอยู่กับฐานะของผู้สร้าง คือบิดา มารดา ของหญิงสาวผู้นั้น ด้วยเหตุนี้พระพุทธรูปเชียงแสนจึงมีมากมาย เท่ากับจำนวนสตรีในยุคเชียงแสน ซึ่งกินเวลายาวนานเกือบ ๖๐๐ ปี นอกจากนั้นยังมีการสร้างด้วยจิตศัทธาร่วมอีกจำนวนมาก ผิดแผกกับสามัญชนคนไทยในสมัยนี้หน้ามือ เป็นหลังมือ ที่สามารถนำความศัทธาในพระพุทธศาสนามาผนวกกับการค้าได้อย่างกลมกลืน พระแท้ๆ ใครเห็นก็จะรู้ได้ทันทีว่าเป็นรุปสมมุติแทนพระพุทธองค์ จึงถูกเฉไฉ ไปเรียกว่า ” งั่ง ” ไปได้เช่นนี้…
หลังจากผมโพสต์บทความนี้ในปี 2014 ในช่วงปลายปี 2016 ผมได้ข้อมูลเพิ่มเติมมาจากสมาชิกในกลุ่ม facebook เกี่ยวกับพระงั่งดังนี้ครับ (ขออภัยด้วยครับ จำไม่ได้ว่าเซฟรูปมาจากสมาชิกท่านใด เลยไม่ได้ให้เครดิตภาพ ขออนุญาตมา ณ.ที่นี้ด้วยครับ)
แอดเป็นเพื่อนกับ MODERN MAJIK ใน Line คุณจะไม่พลาดข่าวสารและบทความล่าสุดจากเรา
iPher/ePher รุ่น LOVE & PEACE จัดสร้างโดย MODERN MAJIK
กำหนดเปิดจอง iPher/ePher ปลายปี 2562 (ประมาณเดือน พ.ย.)
รายละเอียดคลิกที่รูปด้านล่างครับ
บันทึก
บันทึก
บันทึก
บันทึก