ต้นแบบและมีดหมอหลวงปู่หมุน รุ่นเสาร์ 5 บูชาครู ปี 2543

HOT TOPIC

มีดหมอมหาปราบหลวงปู่หมุน รุ่นเสาร์ 5 บูชาครู ปี 2543

By MODERN MAJIK

January 30, 2020

มีดหมอหลวงปู่หมุน

ต้นแบบมีดหมอหลวงปู่หมุน รุ่นเสาร์ 5 บูชาครู ปี 2543
ต้นแบบมีดหมอหลวงปู่หมุน รุ่นเสาร์ 5 บูชาครู ปี 2543
ต้นแบบมีดหมอหลวงปู่หมุน รุ่นเสาร์ 5 บูชาครู ปี 2543
ต้นแบบมีดหมอหลวงปู่หมุน รุ่นเสาร์ 5 บูชาครู ปี 2543
ต้นแบบมีดหมอหลวงปู่หมุน รุ่นเสาร์ 5 บูชาครู ปี 2543
ต้นแบบมีดหมอหลวงปู่หมุน รุ่นเสาร์ 5 บูชาครู ปี 2543

ด้วยความโชคดีของผมที่มีโอกาสได้ครอบครองวัตถุมงคลของหลวงปู่หมุน ตั้งแต่ยุคที่ท่านสร้างช่วงแรกๆ ทำให้ผมมี “ของดี” หลายอย่างวันนี้จะมาเล่าถึงมีดหมอหลวงปู่หมุนที่ผมมีอยู่ 1 เล่ม ซึ่งมีดหมอเล่มนี้ผมได้มาตั้งแต่ช่วงที่ออกให้บูชาเลยซึ่งมีดหมอเล่มนี้ ตั้งแต่ผมได้มาผมเก็บเอาไว้บนหิ้งพระแทบไม่ได้ใช้งานเลยครับเนื่องจากปกติจะแขวนแต่พระและตะกรุด (ในสมัยนั้น ประมาณปี 2542-2545) เครื่องรางและวัตถุมงคลอย่างอื่นที่มี ผมเก็บขึ้นหิ้งหมดเลยครับ

หลังจากผ่านมาเกือบ 20 ปี เมื่อผมจัดหิ้งพระเพื่อทำการคัดแยกวัตถุมงคลต่างๆ ผมแยกวัตถุมงคลหลวงปู่หมุนออกมาเพื่อนำติดตัวมาที่บ้านใหม่ (ย้ายออกมาอยู่กับภรรยา)ซึ่ง 1 ในวัตถุมงคลหลวงปู่หมุนที่ผมมีคือ “มีดหมอ” ผมจดจำลักษณะมีดหมอเล่มนี้ได้เป็นอย่างดีเพราะตั้งแต่ได้มาในตอนแรก ผมหยิบเอามานั่งดู ชักเข้าชักออกจากฝักอยู่หลายครั้งแต่หลังจากเก็บขึ้นหิ้งไปก็ไม่ได้จับอีกเลย จนเมื่อเดือนก่อน (เดือนธันวาคม ปี 2562) คุณพ่อผมบอกว่าไปค้นเป้สะพายหลังใบเก่าแล้วเจอมีดหมอแบบปากกามา 1 เล่ม

พอหยิบเอามาดู พบว่ามีดหมอเล่มนี้ อ.มงคล เคยมอบให้คุณพ่อผมมาตั้งแต่ช่วงที่วัตถุมงคลรุ่น เสาร์ 5 บูชาครูออกให้บูชาที่วัดสุทัศน์ ซึ่งหลังจากหาเจอแล้วเลยทำให้นึกได้ว่ามีดหมอเล่มนี้เป็นเล่มที่ผมเคยพกติดตัวเพื่อใช้งาน และเก็บเอาไว้ในกระเป๋าเป้ตั้งแต่สมัยมัธยมปลาย เพื่อความแน่ใจ ผมรีบถ่ายรูปมีดแล้วส่งให้ อ.มงคล ดูอีกครั้งท่านก็ตอบกลับมาว่า มีดเล่มนี้เป็นมีดต้นแบบที่ช่างทำมีดแกะลายมาให้ดู หลังจากได้ต้นแบบแล้วจึงทำออกมาเป็นมีดจริงที่ให้บูชาในรุ่น “เสาร์ 5 บูชาครู”และมีดต้นแบบเล่มนี้ก็ได้เข้าพิธีปลุกเสกพร้อมกับวัตถุมงคลอื่นๆในรุ่น เสาร์ 5 บูชาครู ด้วยเช่นกัน นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำไมถึงมีรูปแบบเป็นมีดแบบปากกา (ปากกาจริงๆ)เมื่อได้ข้อมูลยืนยันมาแบบนี้ ความทรงจำต่างๆเกี่ยวกับมีดหมอเล่มนี้จึงค่อยๆกลับมาครับ (ต้องเข้าใจด้วยครับว่าผ่านมาเกือบ 20 ปี เก็บไว้จนลืม พอกลับมาเจอเลยไม่ค่อยแน่ใจในรายละเอียด)

ผมถ่ายรูปมีดหมอปากกาเขียว (Limited Edition) หรือมีดต้นแบบของ “มีดหมอมหาปราบหลวงปู่หมุน” เทียบกับมีดหมออีกเล่มที่ผมมี เพื่อให้ดูครับว่าระหว่างมีดจ้นแบบและมีดจริง เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งผมตั้งใจว่าจะเอามีดต้นแบบเล่มนี้มาพกใช้งานครับ และรับรองว่าครั้งนี้จะไม่ลืมทิ้งไว้ที่ไหนอย่างแน่นอน

มีดหมอหลวงปู่หมุน รุ่นเสาร์ 5 บูชาครู ปี 2543
มีดหมอหลวงปู่หมุน รุ่นเสาร์ 5 บูชาครู ปี 2543
มีดหมอหลวงปู่หมุน รุ่นเสาร์ 5 บูชาครู ปี 2543
มีดหมอหลวงปู่หมุน รุ่นเสาร์ 5 บูชาครู ปี 2543
มีดหมอหลวงปู่หมุน รุ่นเสาร์ 5 บูชาครู ปี 2543
มีดหมอหลวงปู่หมุน รุ่นเสาร์ 5 บูชาครู ปี 2543
มีดหมอหลวงปู่หมุน รุ่นเสาร์ 5 บูชาครู ปี 2543
มีดหมอหลวงปู่หมุน รุ่นเสาร์ 5 บูชาครู ปี 2543 : มาพร้อมถุงผ้าเดิมๆเลยครับ สภาพดีสุดๆเพราะไม่ได้เอามาใช้งาน

มวลสารมีดหมอหลวงปู่หมุน

-ตะปูสังขวานนอน ตะปูโลงผีพร้อมเหล็กทิ่มผี -บาตรแตกชำรุด -เหล็กยอดประสาท เหล็กยอดเจดีย์ และเหล็กอาถรรพณ์ต่าง ๆ -ตะปูโลงผีพร้อมเหล็กทิ่มผี ซึ่งเหล็กอาถรรพณ์ชนิดนี้เป็นเหล็กที่ทิ่มศพ ในสมัยโบราณที่ยังใช้เมรุเผาศพแบบเชิงตะกอน สัปเหร่อจะให้เหล็กนี้ทิ่มศพและพลิกศพไปมา เหล็กท่อนนี้ได้รับถวายจาก คุณเม้ง เดอะมอล์ล -เหล็กยอดประสาท เหล็กยอดเจดีย์ และเหล็กอาถรรพณ์ต่าง ๆ นำมาหล่อหลอมรวมกันเพื่อตีมีด ดังนั้นมีดหมอมหาปราบนี้จะมีส่วนผสมของเหล็กอาถรรพณ์ทุกเล่ม และเป็นที่น่าสังเกตุว่า มีดหมอรุ่นนี้จะมีใบมีดที่ค่อนข้างเก่า บางเล่มมีสนิมขึ้นอยู่ประปราย ทั้งนี้เพราะว่าเป็นใบมีดที่ผสมกับเหล็กที่มีอายุหลายร้อยปี วิธีการบำรุงรักษาใบมีดหมอ คือให้ใช้สีผึ้งของลป.หมุนทาบริเวณใบมีดก็ได้ หรือใช้น้ำมันจักร น้ำมันงา น้ำมันหอมทาใบมีดก็ได้ครับ

วัตถุอาถรรพณ์ที่บรรจุในด้ามมีดหมอ ผงพุทธคุณรวมกับผงอาถรรพณ์ต่าง ๆ ที่หลวงปู่มอบให้เส้นเกศา ซึ่งตามตำรับการสร้างมีด จะต้องบรรจุเกศาด้วยตะกรุด ได้รับการปลุกเสกมานับปี มีด ดาบ ที่ลงอาคม ถือเป็นศาสตราวุธที่ช่วยส่งเสริมบารมีและสามารถอธิษฐานจิตกำหนดใช้บนพื้นฐานแห่งศีลธรรมความดีได้ตามปรารถนา มีดหมอหลวงปู่หมุน รุ่นเสาร์ 5 บูชาครู ปี 2543 ขนาดปากกาเล่มนี้ ใบมีดทำจากเนื้อโลหะชนวนมงคลตามสูตรการสร้างเทพศาสตราวุธ ได้แก่ ตะปูสังขวานรพระอุโบสถวัดสุทัศน์อายุเกือบสองร้อยปี ฝักและด้ามเป็นไม้มะขามฟ้าผ่า ลงจารเดิมจากวัดทั้งด้ามและปลอกมีดหน้า-หลัง ภายในด้ามมีดบรรจุของมงคลต่าง ๆ ของหลวงปู่ เช่น เกศา, จีวร, ผงพุทธคุณ, เศษไม้เท้า ฯ การเสกและการอธิษฐานจิตเป็นไปตามศาสตร์แห่งการสร้างมีดหมอโบราณ ตามที่หลวงปู่ท่านได้ร่ำเรียนวิชามีดหมอมหาปราบมาจากหลวงพ่อขำ วัดเขาแก้ว และหลวงพ่อเงิน วัดมะปรางค์หลวง ซึ่งเป็นพระอาจารย์เดียวกันกับ หลวงพ่อเดิม พุทธสโร วัดหนองโพ จังหวัดนครสวรรค์

อุปเท่ห์การใช้งาน

มีดหมอหลวงปู่หมุนนั้นมีกลบทต่าง ๆ แสดงไว้อย่างละเอียด แต่ขออนุญาตอ้างอิงคำกล่าวของหลวงปู่ว่า หลวงพ่อเดิมท่านใช้อย่างไรของท่านก็ใช้อย่างนั้นเหมือนกันอักษรในเล่มใช้ “หลวงปู่หมุนสระแก้ว” (โดยทั่วไปใช้ “ล.ป.หมุน ฐิตสีโล”) ตอก 2 โค๊ต ไม่ใช้หมายเลข ทั้งปลอกและด้ามมีดทำได้พอเหมาะพอดีกัน สภาพธรรมชาติ ผิวหิ้ง เก่าเก็บเดิม ๆ บูชาไว้ยังหิ้งบูชาพระมาโดยตลอดครับ

วัตถุมงคลรุ่น “เสาร์ 5 บูชาครู” นับเป็นการจัดสร้างวัตถุมงคลครั้งประวัติศาสตร์ครั้งหนึ่งของบ้านเรา โดยพระอริยเถระ หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล ได้อนุญาตให้จัดสร้างและรับเป็นประธานนั่งปรก

พิธีพุทธาภิเษกใหญ่ถึง 5 วาระ 3 สถานที่

ครั้งที่ 1 วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2543 – วัดป่าหนองหล่ม ทำพิธีเททองหล่อพระรูปเหมือน, รูปหล่อพิมพ์เบ้าทุบ ครอบน้ำพุทธมนต์ รูปหล่อครึ่งซีกที่ติดข้างขันน้ำมนต์ หลวงปู่หมุนอธิษฐานจิตเดี่ยวและเป็นประธานเททองที่ วัดป่าหนองหล่ม จังหวัดสระแก้ว เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2543

ครั้งที่ 2 วันที่ 16 มีนาคม 2543 – พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม พิธีพุทธาภิเษกมีหลวงปู่ละมัย วัดโพธิ์เย็น เพชรบูรณ์ (อายุ 101 ปี), หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน ลพบุรี, หลวงปู่หลุย วัดราชโยธา, หลวงปู่ผล วัดโนนทอง ลพบุรี, หลวงพ่อจันทร์ วัดนางหนู หลวงพ่อสินธิ์ชัย วัดโพธิ์เย็น เพชรบูรณ์, หลวงพ่อถนอม คณะ 2 วัดสุทัศน์ฯ ในวันพิธีพุทธาภิเษกนั้นในเวลา 02.30 น.ของวันพิธีพุทธาภิเษกเสาร์ 5

ครั้งที่ 3 วันที่ 8 เมษายน 2543 – เสาร์ 5 วัดป่าหนองหล่ม หลวงปู่หมุน เป็นประธานพิธีร่วมกับหลวงปู่กอง อายุ 102 ปี วัดสระมณฑล อยุธยา, หลวงปู่ละมัย วัดโพธิ์เย็น เพชรบูรณ์ อายุ 101 ปี หลวงพ่อสมจิตร(อิน) วัดบ้านด่าน ศิษย์เอกหลวงพ่อเอีย และ หลวงปู่สรวง เทวดาเล่นดิน พระเกจิอาจารย์ผู้อยู่เหนือกาลเวลา นักบุญแห่งบ้านละล่ม จังหวัดบุรีรัมย์ มาอธิษฐานจิตตั้งกสิณไฟ ปลุกเสกเดี่ยวก่อนในเวลาตี 3 กว่าเพื่อเป็นปฐมฤกษ์ แล้วท่านก็ได้กลับไปในเวลา 04.30โดยประมาณ เป็นที่ปลาบปลื้มแก่ผู้ที่อยู่ร่วมอยู่ในพิธีในขณะนั้น จากนั้นเมื่อถึงเวลาฤกษ์พิธีพุทธาภิเษกล.ป.หมุน ก็ได้จุดเทียนชัยมงคลนำฤกษ์ และได้เริ่มกำหนดจิตอธิฐานปลุกเสก โดยในพิธีนี้ได้มีพระเกจิอาจารย์ร่วมในพิธีพุทธาภิเษก ทั้งสิ้น 4 ท่านโดยได้ประจำทิศทั้ง 4ทิศ อันประกอบด้วย

• ล.ป.หมุน วัดบ้านจาน โดยขณะนั้นท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าหนองหล่ม

• ล.ป.ละมัย สำนักสวนสมุนไพร จ.เพชรบูรณ์ ผู้สำเร็จวิชาปรอท และโด่งดังมาก ในวิชาสมุนไพรและวิชาปรอท

• ล.ป.กอง วัดสระมณฑล จ.อยุธยา พระเกจิผู้แตกฉานและสืบทอดวิชาทำตะกรุดและวัตถุมงคลต่างๆสายวิชาวัดประดู่ในทรงธรรม สำนักตักศิลา แห่งเมืองเก่าอยุธยา

• ล.พ.สมจิตร วัดบ้านด่าน ศิษย์เอก ล.พ.เอีย วัดบ้านด่าน เทพเจ้าแห่งเมืองหน่อไม้ไผ่ตรง ผู้สืบทอดวิทยาอาคมทุก ๆ ด้านจาก ล.พ.เอีย จนหมดไส้หมดพุง

ครั้งที่ 4 วันที่ 9 เมษายน 2543 – วัดซับลำใย ทำพิธีพุทธาภิเษก โดยหลวงปู่หมุน อธิษฐานปลุกเสกตั้งธาตุ หนุนธาตุ ชักยันต์ ครอบมณฑลพิธีอย่างตั้งใจ

ครั้งที่ 5 วันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน (เวลา 09.19 น.) – พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม ที่อุโบสถวัดสุทัศน์ฯ โดยในพิธีพุทธาภิเษกที่วัดสุทัศนเทพวราราม หลวงปู่ท่านได้บอกเป็นนัยว่าสมเด็จพระสังฆราชแพ และหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตารามก็มาร่วมในการปลุกเสกครั้งนี้ด้วย

ต้นแบบและมีดหมอหลวงปู่หมุน รุ่นเสาร์ 5 บูชาครู ปี 2543
ต้นแบบและมีดหมอหลวงปู่หมุน รุ่นเสาร์ 5 บูชาครู ปี 2543
ต้นแบบและมีดหมอหลวงปู่หมุน รุ่นเสาร์ 5 บูชาครู ปี 2543
ต้นแบบและมีดหมอหลวงปู่หมุน รุ่นเสาร์ 5 บูชาครู ปี 2543
ต้นแบบและมีดหมอหลวงปู่หมุน รุ่นเสาร์ 5 บูชาครู ปี 2543
ต้นแบบและมีดหมอหลวงปู่หมุน รุ่นเสาร์ 5 บูชาครู ปี 2543