เพชรพญาธร (ทิพยาธร)

เพชรพญาธร (วิทยาธร-พิทยาธร)

ก่อนที่จะกล่าวถึงประวัติของ เพชรพญาธร (วิทยาธร-พิทยาธร) ขอพูดถึงเรื่องสวรรค์ในความเชื่อทางศาสนาพุทธก่อนครับ

สวรรค์ในความเชื่อทางศาสนาพุทธ แปลว่า ภูมิหรือดินแดนที่มีอารมณ์เลิศด้วยดีเป็นที่อยู่ของเทวดา เหตุที่ทำให้มาเกิดเป็นเทวดาเพราะได้สร้างบุญกุศลไว้เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ เมื่ออุบัติขึ้นก็ตั้งอยู่ในวัยหนุ่มสาวทันที งดงามตลอดเวลา จนกว่าจะถึงเวลาจุติ ไม่มีความแก่บังเกิดขึ้นเหมือนในเมืองมนุษย์

เทวดาชั้นฉกามาวจร (กามภพ-ผู้ที่ยังเกี่ยวข้องกับกาม) อยู่บนสวรรค์ชั้นฉกามาพจร หรือสวรรค์ที่ยังเกี่ยวข้องกับกามซึ่งมี 6 ชั้น
1.จาตุมหาราชิกา ตั้งอยู่ ณ เชิงเขาพระสุเมรุ ที่ได้ชื่อสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา เพราะมีเทพผู้เป็นใหญ่ครองสวรรค์ชั้นนี้อยู่ 4 ท่าน คือ ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักษ์ และท้าวเวสสุวรรณ
2.ดาวดึงส์ ตั้งอยู่ที่บนยอดเขาพระสุเมรุ ที่ชื่อว่า ดาวดึงส์ เพราะเป็นที่อยู่ของเทพผู้ปกครองภพถึง 33 องค์ โดยมีท้าวสักกะเป็นประธาน และที่สำคัญมีจุฬามณีเจดีย์ ซึ่งทุกวันพระเทวดาจะมาประชุมกันที่ศาลาสุธรรมา เพื่อรับฟังโอวาทจากท้าวสักกะ
3.ยามา มีท้าวสุยามะเป็นจอมเทพ
4.ดุสิต มีท้าวสันดุสิตเป็นจอมเทพ
5.นิมมานรดี มีท้าวสุนิมมิตเป็นจอมเทพ
6.ปรนิมมิตวสวัตดี มีท้าววสวัตตีเป็นจอมเทพ

วิมาน คือ ที่อยู่อาศัยของเทวดา ล้วนมีความวิจิตรงดงาม มีขนาดแตกต่างกัน มี ความเป็นอยู่สะดวกสบาย มีอาหารทิพย์บังเกิด ขึ้น มีบริวารคอยรับใช้ใกล้ชิด เสื้อผ้าเป็นทิพย์ วิจิตรงดงาม บังเกิดขึ้นให้สวมใส่ กิจกรรมแต่ละวันก็มีการเที่ยวเพลิดเพลินบันเทิงอยู่กับการชมสวน การสังสรรค์กันระหว่างทวยเทพทั้งหลาย ส่วนจะอุบัติขึ้น ณ สวรรค์ชั้นไหน เป็น เทวดาประเภทใด และอยู่ในฐานะอะไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับบุญที่ตัวเองสั่งสมมาเมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ ซึ่งได้มีกล่าวไว้ในคิลายนสูตร ของพระไตรปิฎกภาษาบาลี ดังนี้

สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา

จาตุมหาราชิกา เป็นชื่อสวรรค์ชั้นแรกและเป็นชั้นล่างที่สุดในฉกามาวจร (สวรรค์ในกามภูมิตามคติไตรภูมิ) เรียกสั้น ๆ ว่า ชั้นจาตุม ก็มี มีที่ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาพระสุเมรุ จาตุมหาราชิกา โดยศัพท์แปลว่า “แห่งมหาราชทั้งสี่” เมื่อแปลแบบเอาความจึงหมายถึง “แดนเป็นที่อยู่ของท้าวมหาราชทั้งสี่” หรือ “อาณาจักรของท้าวมหาราช 4 องค์” กล่าวคือ สวรรค์ชั้นนี้เป็นดินแดนที่จอมเทพ 4 องค์ผู้รักษาคุ้มครองโลกใน 4 ทิศ ซึ่งเรียกว่า ท้าวโลกบาล ท้าวจตุโลกบาล หรือ ท้าวจาตุมหาราช ปกครองอยู่องค์ละทิศ
ท้าวธตรฐ (อ่านว่า ถะ-ตะ-รด) ประจำทิศตะวันออก ปกครองพวกคนธรรพ์ เพชรพญาธร (ทิพยาธร)
ท้าววิรุฬหก (ออกเสียงว่า วิ-รุน-หก) ประจำทิศใต้ ปกครองพวกกุมภัณฑ์
ท้าววิรูปักษ์ ประจำทิศตะวันตก ปกครองพวกนาค
ท้าวเวสสุวัณ หรือเวสสุวรรณ ประจำทิศเหนือ ปกครองพวกยักษ์


เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกามีอายุ 500 ปีทิพย์ (30 วันเป็น 1 เดือน 12 เดือนเป็น 1 ปี)
โดย 1 วันและ 1 คืนของสวรรค์ชั้นนี้ เท่ากับ 50 ปีของโลกมนุษย์ คำนวณเป็นปีโลกมนุษย์ได้ 9,000,000 ปีโลกมนุษย์ (บางแห่งกล่าวว่าเท่ากับ 90,000 ปีโลกมนุษย์)
จากการคำนวณของ MODERN MAJIK เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกามีอายุ 500 ปีทิพย์ * 365 วัน * 50 ปี = 9,125,000 ปีโลกมนุษย์

วิทยาธร (สันสกฤต: विद्याधर; บาลี: Vijjādhara) หรือ พิทยาธร[1] เป็นอมนุษย์พวกหนึ่งตามคติศาสนาแบบอินเดีย มีฐานะตํ่ากว่าเทวดา มีฤทธิ์เหาะได้[2] ชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นมนุษย์ครึ่งเทพ[3] ทำหน้าที่รับใช้พระศิวะที่ภูเขาหิมาลัย[4]

เพชรพญาธร (วิทยาธร-พิทยาธร)
เป็นเทพที่ทรงความรู้ในศาสตร์ต่างๆ เหาะเหินเดินอากาศได้ มีเวทมนตร์ คาถาอาคมต่างๆ ตามตำนานเพชรพญาธรเป็นเทพอาศัยอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา บางพวกอยู่ในอากาศบางจำพวกในป่าหิมพานต์รวมถึงในโลกมนุษย์ เป็นผู้ที่มีวิชาอาคมมีอิทธิฤทธิ์อย่างมากมีลักษณะรูปร่างหน้าตาที่งดงาม ผิวกายสีทองนพเก้าเป็นที่รักของเพศตรงข้ามเป็นยิ่งนักอีกทั้งไม่มีวันแก่ (เป็นหนุ่มตลอดกาล) เพชรพญาธรเป็นเทพที่มีเสน่ห์มากขนาดเทวดาและนางฟ้าด้วยกันยังหลงใหล เพชรพญาธรชอบไปจับหญิงสาวสวยๆมาเสพสังวาสและหญิงสาวเหล่านั้นก็หลงไหลคลั่งไคล้เทพเพชรพญาธร นอกจากเพชรญาธรจะเป็นเทพที่มีเสน่ห์รุนแรงแล้วยังสามารถโบยบินไปหาผู้คนไปหาหญิงสาวที่ปรารถนาได้และกล่าวได้ว่า เพชรพญาธรนั้นเป็นเทวดารูปงาม มีมนต์ดลจิตดลใจ หายตัวได้ กระโดดไกลได้ถึง 300 โยชน์ มีรูปโฉมอันงดงามยิ่งนัก เล่นดนตรีได้ไพเราะชวนเคลิบเคลิ้มและมีอิทธิฤทธิ์ มนต์สะกดดลจิตดลใจให้เหล่าเทวดา กินรี เหล่านางฟ้านางสรรค์รวมถึงหญิงงามในโลกมนุษย์ต่างหลงเสน่ห์ เพชรพญาธรนั้นมีหลายร่างมีทั้งร่างที่เป็นเทพ ร่างฤาษี ร่างอมมนุษย์ในรูปแบบต่างๆ

อ้างอิง

 

งั่งเทพ อาจารย์เจียม มนต์เสน่ห์เมืองมอญ 2
งั่งเทพ อาจารย์เจียม มนต์เสน่ห์เมืองมอญ (คลิกที่รูปเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *