งั่งกริ่ง vs พระกริ่ง

ผมได้อ่านเจอบทความที่ชื่อ “รูปแบบความเชื่อของพระกริ่งที่พบในประเทศไทย” ซึ่งเป็นบทความของ นายธนุตย์ ธรรมพิทักษ์ ซึ่งเป็นสารนิพนต์ของหลักสูตรปริญญาโท มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2547 หลังจากได้อ่านข้อมูลแล้ว รู้สึกว่าเป็นข้อมูลที่น่าสนใจ ผมจึงมีความคิดว่าควรจะนำมาเผยแพร่ให้มิตรรักแฟน MODERN MAJIK ได้ทราบ

เพราะว่างั่งพิมพ์ที่ผมนิยมชมชอบนั้น เป็นงั่งพิมพ์อุดกริ่ง หากมีข้อมูลในเชิงประวัติศาสตร์ที่มีที่มาที่ไปชัดเจนและสามารถพิสูจน์ได้ในเชิงวิชาการ ก็อาจจะทำให้เราเชื่อมโยงถึงยุค และที่มาของ “งั่งกริ่ง” พิมพ์ต่างๆได้ และนี่อาจจะเป็นข้ออ้างอิงในสมมติฐานของผมที่ว่า “งั่งไม่ใช่ของต่ำ”

เพราะหากการทำกริ่งในพระเครื่องรูปแบบต่างๆนั้น มีที่มาจากวัตถุประสงค์ในด้านที่ดี ก็ไม่มีเหตุอันใดที่จะต้องทำกริ่งใส่ในเครื่องรางที่เป็นของต่ำอย่างเช่น พระงั่ง หรือ ไอ้งั่ง ทั้งแบบตาแดงและตาโปน 

จะมีที่มาที่ไปอย่างไร เชิญอ่านสารนิพนต์ได้ตามลิงค์นี้ครับ http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/thapra/Thanut_Thampituck/Fulltext.pdf

ป.ล.หากท่านยังไม่เคยอ่านบทความทางด้านวิชาการ ขอให้เตรียมตัวให้ดีครับ เพราะรูปแบบจะไม่เหมือนวารสารหรือหนังสือต่างๆทีท่านเคยเห็น จะมีข้อมูลอ้างอิงต่างๆมากมาย แต่ขอให้เชื่อได้ว่า ข้อมูลต่างๆ มีที่มาที่ไปชัดเจน มีการอ้างอิงเพื่อให้สามารถสืบค้นต่อได้

แอดเป็นเพื่อนกับ MODERN MAJIK ใน LINE
คุณจะไม่พลาดข่าวสารและบทความล่าสุดจากเรา

เพิ่มเพื่อน

รับซื้องั่งและเป๋อเก่า

[polldaddy poll=9471036]

ติดตามเราผ่าน Google+

ติดตามเราผ่าน Facebook Fanpage

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *