พระงั่งพิมพ์เกศเอียง

พระงั่งพิมพ์เกศเอียง

พระงั่งพิมพ์เกศเอียงองค์นี้ เห็นภาพครั้งแรกรู้สึกหลงรักเลยครับเนื่องจากสภาพผิวดูแปลกตา ที่หน้าพระมองเห็นเนื้อพระสีทอง (ผิวชั้นใน) พื้นผิวส่วนใหญ่จะเป็นสีน้ำตาลซึ่งจากการโดนอากาศและความชื้น (ผิวชั้นกลาง) และผิวชั้นนอกที่เป็นคราบสีขาวเป็นจุดแข็ง (ศัพท์ทางเทคนิคเรียกว่า สนิมไข่แมงดา) และคราบไขสีขาวและคราบสีเขียว (ส่วนนี้เกิดจากความชื้นซึ่งเกิดจากการโดนความชื้นหรือเหงื่อ)

เนื่องจากพระงั่งองค์นี้ผมไม่ได้เช่ามาจากเจ้าของพระโดยตรง ทำใหม้ไม่ทราบประวัติและที่มา จึงไม่สามรถระบุได้ว่าผิวพระและคราบต่างๆเกิดได้อย่างไร จึงบรรยายได้แค่ลักษณะทางกายภาพที่ปรากฎให้เห็น

พระงั่งพิมพ์เกศเอียง
พระงั่งพิมพ์เกศเอียง – คราบขาวเป็นจุดกระจายเต็มองค์
พระงั่งพิมพ์เกศเอียง
พระงั่งพิมพ์เกศเอียง – ด้านหลังเห็นรอยผูกมัดเชือกที่กลางองค์พระชัดเจน
พระงั่งพิมพ์เกศเอียง
ด้านล่างบริเวณฐานเป็นคราบเขียวจากความชื้นหรือเหงื่อ
พระงั่งพิมพ์เกศเอียง
พระงั่งพิมพ์เกศเอียง – สภาพผิวพระมีหลายวรรณะ (เนื้อพระ / ผิวเคลือบ / คราบต่างๆ)
พระงั่งพิมพ์เกศเอียง
พระงั่งพิมพ์เกศเอียง – ดินใต้ฐานเต็ม