สรุปข้อมูลการตรวจสอบพระงั่งทางโลหะวิทยา ด้วยเทคนิค X-Ray Fluorescence (เอ็กซเรย์ ฟลูออเรสเซนต์)
เป็นเทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์หาปริมาณธาตุองค์ประกอบ โดยห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)




ผลการตรวจพระงั่งฐานดินที่ออกมาทั้งหมด 4 องค์ ซึ่งประกอบด้วย
1.พญางั่งสะบัดหน้า เอกสารการตรวจ ASX2301-011 วันที่ตรวจ 09/01/2023

2.พญางั่งสะบัดหน้าพิมพ์เศียรโล้นปากเป็ด เอกสารการตรวจ ASX2301-012 วันที่ตรวจ 09/01/2023

3.พญางั่งสะบัดหน้าพิมพ์ปากกระจับ เอกสารการตรวจ ASX2301-013 วันที่ตรวจ 09/01/2023

4.พญางั่งสุวรรณภูมิพิมพ์นิ้วกระดก เอกสารการตรวจ ASX2301-014 วันที่ตรวจ 09/01/2023

พระงั่งฐานดินทั้ง 4 องค์นั้น ตรวจเจอส่วนประกอบทางโลหะวิทยาเป็น #เนื้อทองเหลือง
จากข้อมูลนี้คงสรุปไม่ได้ว่าพระงั่งฐานดินทุกแบบเป็นเนื้อทองเหลือง
แต่แต่สันนิษฐานได้ว่าพระงั่งฐานดินที่มีสีผิวโลหะออกสีเหลือง น่าจะทำมาจากโลหะทองเหลือง
ซึ่งสัดส่วนการผสมทางโลหะมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน คือมีโลหะหลักอยู่ 2 ชนิดคือ
#ทองแดง พบว่ามีสัดส่วน ตั้งแต่ 61.78 – 65.59 % (เปอร์เซ็นต์)
#ทองเหลือง พบว่ามีสัดส่วน ตั้งแต่ 30.37 – 36.08 % (เปอร์เซ็นต์)
หากต้องการทราบข้อมูลที่แน่ชัด ว่าพระงั่งองค์นั้นๆมีส่วนประกอบทางโลหะวิทยาอะไรบ้าง จะต้องทำการตรวจทดสอบครับเพื่อที่จะมีตัวเลขให้อ้างอิงได้
#หมายเหตุ
การตรวจสอบพระงั่งทางโลหะวิทยา (Metallurgy) เพื่อหาส่วนผสมของโลหะในพระงั่งแต่ละประเภท เพื่อใช้ในการอ้างอิงพระงั่งแต่ละแบบว่าเป็นโลหะประเภทใด
มีส่วนผสมของโลหะชนิดไหน ไม่ได้เป็นการตรวจหาอายุหรือความเก่าของพระงั่งครับ ดังนั้นข้อมูลในส่วนอายุของพระงั่งยังคงสรุปไม่ได้ และยังไม่มีข้อมูลใดอ้างอิงได้
จะต้องใช้องค์ความรู้ในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ และความรู้ด้านอื่นๆ ประกอบด้วยครับ
#โลหะวิทยาพระงั่ง
#PhraNgangMetallurgy
#โมเดิร์นเมจิค #MODERNMAJIK